My friend

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำพริกกับผักเคียง ช่วยเลี่ยงได้หลายโรค

พูดถึง “น้ำพริก” คนไทยต้องรู้จักเป็นอย่างดี แม้ว่าแต่ละภาคอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปบ้าง เช่น ภาคใต้เรียก“น้ำชุบ” ภาคอีสาน มี “ป่น”“แจ่ว” แต่ ไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันแค่ ไหน ส่วนประกอบหลักๆ ของน้ำพริกมีคล้ายคลึงกัน แถมยังต้องกินกับผักเครื่องเคียงหลากหลายชนิด ที่มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการและป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ด้วย
สมุนไพรที่อยู่ในถ้วยน้ำพริกนั้น
ประกอบด้วย พริก กระเทียม และหอมแดง ซึ่งแต่ละอย่างก็มีสรรพคุณป้องกันได้หลายแบบ เอกสารเผยแพร่ของศูนย์ประสานงาน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรให้ข้อมูลสมุนไพรแต่ละตัวไว้ว่า
พริก มีรสชาติเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร ขับลม แก้หวัด แก้ภูมิแพ้ งานวิจัยพบว่าในพริกมีสารแคปไซซิน ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
กระเทียม มีสาร “อัลลิซิน” กลิ่นฉุน มีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มหรืออุดตันตามผนังหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
หอมแดง มีสาร “เคอร์ซิทิน” ช่วยทำความสะอาดเส้นเลือด ป้องกัน ไม่ให้หลอดเลือดอุดตัน
นอกจากนี้ สมุนไพรที่เป็น เครื่องเคียงกินกับน้ำพริก เช่น สายบัว บัวบก ผักกะเฉด ผักกูด ผักหนาม ยังมีสารประกอบที่ฝรั่งเรียกว่า “ไฟโตเคมีคอลล์” มีฤทธิ์ในการป้องกันโรคร้ายต่างๆ เช่น คลอโรฟิลล์ ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ เมื่ออยู่ในผักจะออกฤทธิ์ช่วยกันเสริมสร้างร่างกายให้ แข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกันและต่อต้านอนุมูลอิสระ ในผักยังมีเส้นใยอาหาร หรือที่เรียกว่าไฟเบอร์นั้น ก็ยังมีประโยชน์อีก นั่นคือเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำจะช่วยคุมระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ลดโอกาสเสี่ยงการเป็นริดสีดวงทวาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ทั้งหมดที่ว่ามาแสดงว่าสมุนไพรในหนึ่งถ้วยน้ำพริกนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพเหลือหลาย นอกจากความแซบอันเป็นที่รู้กันโดยทั่วไป แล้วอย่างนี้จะทิ้งน้ำพริกไปหาอาหารฝรั่งกันได้ลงคอเชียวหรือ

6 สมุนไพรที่ลำไส้ต้องการ

ลำไส้ของเราก็อย่างได้อาหารบำรุงเหมือนกันนะ และสมุนไพรทั้ง 6 ชนิดคือคำตอบที่กระเพราะและลำใส้ต้องการให้เราไปเสริมสุขภาพของมัน

1.ใบแมงลัก

น้ำมัน หอมระเหยจากใบแมงลักเป็นยาช่วยย่อยชั้นเซียน ลำไส้ใครไม่ค่อยทำงานจนท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ ลองชิมใบแมงลักสักสี่ห้าใบแล้วจะติดใจ


2.พริกสด 

ความ เผ็ดซู่ซ่าของพริกคืออยากกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำลายออกมา จากนั้นเอนไซม์ของน้ำลายจะช่วยย่อยแป้งให้อ่อนตัวลง กระเพราะกับลำไส้จะได้ไม่ต้องทำงานโหลดจนเกินไป



3.หอมแดง 

แค่ กินหอมแดงอย่างเดียว ลำไส้คุณก็ยิ้มแล้ว เพราะเท่ากับซื้อหนึ่งได้ถึง สี่ ได้แก่สารฟลาโวนอยส์ ไกลโคไซต์ เพคติน และกลูโคคินิน 4 สารบำรุงลำไส้และช่วยย่อยและทำให้เจริญอาหาร คุ้มกว่านี้มีอีกไหม



4.ใบกระเพรา
 

ถึงชื่อเสียงของกระเพราจะมือมนไปมาก ตั้งแต่พัดกะเพราถูกตั้งชื่อว่าผักสิ้นคิด แต่สรรพคุณของมันยังแจ่มเหมือนเดิม โดยเฉพาะสรรพคุณในการขับน้ำดีในกระเพราะอาหารมาช่วยย่อยอาหารที่เรากินเข้า ไป


5.ตะไคร้
 

ให้ เคี้ยวเดี๋ยวกินยากเกินไปหน่อย แต่ถ้าทำเป็นชาตะไคร้ หรือซอยบางๆกินกับยำ คงไม่ลำบากมากเกินไปสำหรับคนรักสุขภาพ สรรพคุณของตะไคร้เริ่ดไม่แพ้ใบกะเพรา คือช่วยขับน้ำดีออกมาย่อยอาหารเหมือนกัน สาวๆที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยไม่ควรพลาด


6.กระเทียม


มี สูตรเด็ดเคล็ดลับสำหรับคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อยมาฝาก ให้อากระเทียมมา 5 กลีบแล้วสับละเอียด กินทันทีหลังอาหาร กระเทียมมจะช่วยกระตุ้นให้กระเพราะอาหารจอมขี้เกรียดของคุณยอมย่อยอาหารมื้อ นั้นแต่โดยดี ถ้ากินทุกวันไม่นานอาการไม่ย่อยก็จะหายไปเอง

ว่านหางจระเข้บำรุงผิว!!!

วิธีใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวเพื่อผิวพรรณที่เนียนสวยอยู่เสมอทำได้ง่าย ๆ ดังนี้



ใช้น้ำว่านหางจระเข้ล้างหน้าขจัดความกร้านเพื่อผิวเนียนสวย

          การใช้น้ำว่านหางจระเข้ล้างหน้า ให้ใส่เพียง 2-3 หยดก็พอถ้าเป็นในช่วงเร่งรีบอาจบีบเอาน้ำจากใบว่านสดเลยก็ได้ เมื่อผสมน้ำว่านหางจระเข้กับโฟมล้างหน้าแล้ว ให้ถูจนเป็นฟอง แล้วเริ่มล้างหน้าได้ สำหรับผู้มีผิวมันและมีเหงื่อมาก ในฤดูร้อน อาจใช้แปรงช่วยล้างหน้าด้วยก็ได้

ใช้เนื้อวุ้นของว่านหางจระเข้ช่วยสมานผิวหลังล้างหน้า

          ล้างว่านหางจระเข้สะอาด ฝานเอาหนามแหลมออก แล้วค่อยปลอกเปลือก เอาแต่เนื้อวุ้นข้างในไว้ใช้ ล้างหน้าให้สะอาดแล้วนำเนื้อวุ้นมาทาใบหน้า เพื่อบำรุงผิวหน้า ทาไปเรื่อย ๆ จนกว่าเนื้อวุ้นจะไม่มีน้ำ เหลือแต่เส้นใย ก็ให้หยุดทา แล้วรีบล้างออกโดยเร็ว นอกจากนี้ยังอาจใช้กับโลชั่นที่ใช้เป็นประจำ โดยหยดน้ำว่านหางจระเข้สัก 2-3 หยดลงในโลชั่นก็เป็นอันใช้ได้

ใช้เนื้อวุ่นว่านหางจระเข้รักษาสิวและตุ่มพอง

สมุนไพรล่ายุง

สมุนไพรไล่ยุง และวิธีทำสมุนไพรไล่ยุง  มีมากมายดังนี้  

สะระแหน่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha arversis
ลักษณะ สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาด หัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้ ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรง

กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum
ลักษณะ กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อ บางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อเล็กๆ สีขาวรวมกันเป็นกระจุก อยู่ที่ปลายก้านดอก
ส่วนที่ใช้ หัว
วิธีใช้ นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้

กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanotum
ลักษณะ กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่ นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหมู
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้ ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออก มาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถูที่ ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อน ข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้ง

ว่านน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acorus calamus
ลักษณะ ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้า เป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียว
ส่วนที่ใช้ เหง้า
วิธีใช้ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง

แมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum citratum
ลักษณะ แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้ ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง

ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus
ลักษณะ ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและ ลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอย
ส่วนที่ใช้ ต้นและใบ
วิธีใช้ นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้นมา ทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วย ไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้

ดีจังเลยสมุนไพรไทย

http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable  สามารถดูสมุนไพรไทยต่างๆได้เลยน่ะจ๊ะ

สมุนไพร

555
เรื่องดีมีสาระ เหมาะกะน่าผู้ทำ 555

ขมิ้นสมุนไพรไทยมากคุณประโยชน์

“ขมิ้น” พืชสมุนไพรที่คนไทยรู้กันดี และเป็นสิ่งที่อยู่คู่ครัวคนไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นแกงส้ม  แกงไตปลา ผัดผงกระหรี่ หรือหมูผัดเผ็ด อาหารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่มีขมิ้นเป็นส่วนผสมแถบทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากอันดับต้นๆ ของคนไทยอีกด้วย ซึ่งถือเป็นความโชคดีของคนไทยที่สามารถนำพืชเล็กๆ ที่ฝังอยู่ใต้ดินมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้ เพราะสรรพคุณของขมิ้นมีคุณค่าที่หลากหลาย ซึ่งเราเองก็อาจคลาดไม่ถึง

สังเกตุได้จากงานวิจัยต่างๆ ที่ผ่านมา พบว่า สารสีเหลืองในขมิ้นที่เรียกว่า “เคอร์คูมิน” สามารถป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้ถึง 78% ซึ่งเป็นผลทดลองของทีมนักวิจัย University of Texas M.D. Anderson Cancer Center, Houston สหรัฐอเมริกา ที่ใช้สารเคอร์คูมินร่วมกับยารักษามะเร็งทดลองในหนู นอกจากนี้ผลวิจัยของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tohoku ประเทศญี่ปุ่น ยังพบอีกว่าเคอร์คูมินมีคุณสมบัติออกฤทธิ์หลายที่ เช่น การยับยั้งยีนที่กระตุ้นการเติบโตของเซลล์ การยับยั้งการผลิตโปรตีนอัลฟา-แคทีนิน (alpha-catenin)) และชักนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบ อะพอพโตซิส ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ได้ (เพราะเซลล์โดยทั่วไปจะมีโปรแกรมสั่งการให้ตนเองตายเมื่อผิดปกติหรือบาดเจ็บ แต่เซลล์ของมะเร็งจะโตเอาโตเอาแบบไม่มีวันตาย)  

ซึ่งการศึกษาจากงานวิจัยเหล่านี้ ส่งผลให้คนได้รับความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสรรพคุณเบื้องต้นของขมิ้นที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย หรือด้านผิวพรรณที่คนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่อง นุ่มนวลยิ่งขึ้น และนอกจากสารเคอร์คูมินจะพบได้ในขมิ้นแล้ว ยังสามารถพบได้จากพืชในวงศ์ตระกูลขิงอีกด้วย อีกทั้งคุณสมบัติของสารเคอร์คูมิน หรือ เคอร์คูมินอยส์ ยังมีฤทธิ์ในบำรุงตับ การช่วยลดโคเลสเตอรอล ป้องกันสมองเสื่อม และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงไม่แปลกที่เครื่องสำอางในแถบเอเซียส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของขมิ้นอยู่ด้วย จากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้ว สารเคอร์คูมินในขมิ้นในยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ซึ่งขมิ้นจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์ (หากมีการวิจัยและสามารถทดลองนำไปใช้ได้ในอนาคต “เอดส์” คงก็สามารถรักษาให้หายได้ และไม่กลายเป็นโรคที่น่ากลัวอีกต่อไป)

และเมื่อไม่นานมานี้ยังมีการวิจัยเกี่ยวขมิ้นของทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐ จากมหาวิทยาลัยอริโซนามาอีกว่าช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ โดยระบุว่าการรับประทานแกงที่มี "ขมิ้น" เป็นส่วนประกอบ มีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูก ข้ออักเสบ ซึ่งอาหารประเภทแกงเผ็ด หรือแกงสีเหลืองทั้งหลาย มีสรรพคุณช่วยบำบัดโรคได้

นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากที่มีงานวิจัยต่างๆ ออกมา เพราะขมิ้นถือเป็นพืชท้องถิ่นของเมืองไทย และเป็นพืชผักสวนครัวที่ต้องมีอยู่ทุกครัวเรือน หากมีการพัฒนารูปแบบ หรือการผลิตที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในยุคปัจจุบันต่อไปเรื่อยๆ วันหนึ่งขมิ้นอาจจะเป็นสมุนไพรไทยชนิดแรกที่เข้าสู่ตลาดโลกก็ได้


เรื่องโดย : อาทิตย์ ด้วนเกตุ Team content www.thaihealth.or.th