My friend

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย ลูกยอ

ยอ เป็นไม่พุ่มหรือไม้ขนาดเล็กในตระกูล Rubiaceae เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีผู้นำไปแพร่พันธุ์จนกระจายไปทั่วอินเดีย และตามหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิค และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก
ต้นยอขึ้นได้ทั้งในป่าทึบหรือตามชายฝั่งทะเลที่เป็นโขดเขาหรือพื้นทราย ต้นโตเต็มที่เมื่ออายุครบ 18 เดือน และให้ผลซึ่งมีน้ำหนักรวมกันระหว่าง 4-8 กิโลกรัมต่อเดือน ตลอดทั้งปี ยอเป็นพืชทนทานต่อดินเค็ม สภาวะแห้งแล้ง และดินทุติยภูมิ ยอจึงพบแพร่หลายทั่วไป ต้นยออาจสูงถึง 9 เมตร ใบและผลยอมีลักษณะเด่นที่เป็นแล้วบอกได้โดยง่ายว่าเป็นยอ
ใบยอมีขนาดใหญ่ รูปใบธรรมดาและเส้นใบลึก ใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน
ยอออกดอกและผลตลอดปี ดอกของมันเล็กๆ มีสีขาว ผลยอเป็นผลรวม กลิ่นฉุนเมื่อสุก บางครั้งจึงมีผู้เรียกชื่อผลยอในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึง ลูกเนยแข็งหรือลูกอ้วก (cheese fruit หรือ vomit fruit) ผลยอคล้ายรูปไข่ และเหมือนมีตารอบผล ความยาวของผลอยู่ระหว่าง 4-7 เซนติเมตร เมื่อผลยังอ่อนมีสีเขียว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไปจนเกือบขาวเมื่อสุก แม้ผลยอจะมีกลิ่นแรงและรสขม แต่ก็มีการบริโภคผลยอกันมาก ทั้งดิบ ๆ หรือปรุงแต่ง บางหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค กินผลยอเป็นอาหารหลัก ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชาวพื้นเมืองออสเตรเลียกินผลยอดิบจิ้มเกลือ หรือปรุงกับผงกระหรี่ เมล็ดของยอคั่วรับประทานได้
1. การใช้ประโยชน์ยอแต่ดั้งเดิม
ต้นยอใช้ประโยชนได้ทั้งต้น ไม่ว่า ใบ ผล ลำต้น ดอก เมล็ด หรือราก แต่ดั้งเดิมมามีผู้นำยอไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ใบยอ
(ก) ใบสด ใช้ห่อเนื้อและทำให้เนื้อมีรสยอ ใช้ทำอาหาร เช่น ห่อหมก ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงตัวหนอนไหม แก้แผลพุพอง รักษาอาการปวดศีรษะ หรือไข้
(ข) ใบทำยาพอก รักษาโรคมาลาเรีย แก้ไข้ แก้ปวด รักษาวัณโรค อาการเคล็ดยอก แผลถลอกลึกๆ อาการปวดในข้อ แก้ไข้ แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย แก้กระดูกแตก กล้ามเนื้อแพลง
(ค) น้ำสกัดใบยอ รักษาความดันโลหิตสูง เลือดออกที่เกิดจากกระดูกร้าว แก้ปวดท้อง เบาหวาน เบื้ออาหาร ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่องท้องบวม ไส้เลื่อน อาการขาดวิตามินเอ

1.2 ผลยอ
(ก) ไอระเหยจากลูกยอ ใช้รักษากุ้งยิง
(ข) ลูกยอดิบ ใช้รักษาอาการเจ็บ หรือแผลตกสะเก็ดรอบปากหรือข้างในปาก
(ค) ลูกยอสุก ใช้รับประทาน ลูกยอบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ ลูกยอบดใช้ทาเท้าแก้เท้าแตก ใช้ทาผิวฆ่าเชื้อโรค หรือรับประทานเพื่อฆ่าพยาธิในร่างกาย รักษาบาดแผลและอาการบวม แก้ปากและเหงือกอักเสบ แก้ปวดฟัน กระตุ้นความอยากอาหารและสมอง ใช้ทำอาหารหมู
(ง) ผลทำยาพอก ใช้แก้หัวสิว ตุ่ม ฝีฝักบัว แก้วัณโรค อาการเคล็ด แผลถลอกลึก โรคปวดในข้อ
(จ) น้ำมัน น้ำมันสกัดจากลูกยอใช้แก้ปวดกระเพาะ
(ฉ) น้ำสกัดลูกยอ แก้ความดันโลหิตสูง
1.3 ลำต้น
(ก) เปลือกต้ม แก้โรคดีซ่าน
(ข) น้ำสกัดต้นยอ แก้โรคความดันโลหิตสูง
1.4 เมล็ดยอ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดยอใช้รักษาเหาและป้องกันแมลง
1.5 ดอกยอ ใช้รักษากุ้งยิง
1.6 รากยอ
(ก) นำมาใช้แกะสลัก
(ข) ทำรงควัตถุสีเหลือง
(ค) น้ำคั้นจากรากใช้แก้แผลที่อักเสบรุนแรง
1.7 ทุกส่วนของต้นยอ สามารถใช้ทำยาระบายท้อง

2. การใช้ประโยชน์ยอสมัยใหม่
ปัจจุบันมีการนำลูกยอมาใช้ในทางแพทย์ทางเลือก (complementary alternative medicine, CAM) กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคติดสุราหรือยาเสพติด อาการแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคหอบหืด โรคสมอง แผลพุพอง มะเร็ง โรคเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงหัวใจ อาการแพ้สารเคมี โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก (endometriosis) โรคเก๊า โรคความดันโลหิตสูง ภูมิคุ้มกันต่ำ อาการอักเสบต่างๆ อาการปวดบวม อาการอ่อนเพลียจากการนั่งเครื่องบินนานๆ โรคเส้นโลหิตตีบ อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โปลิโอ โรคปวดในข้อ ไซนัส และใช้เป็นยารักษาสัตว์

สมุนไพรไทย ขิง

สรรพคุณ
ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก
นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุกกี้ พาย เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ เป็นต้น ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง (Ginger beer)

สมุนไพรไทย สะระเเหน่

สรรพคุณ
สะระแหน่ มีฤทธิ์เย็นรสเผ็ด น้ำมันสะระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอ
1. รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
4. ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
5. รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
6. รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด
วิธีใช้ประกอบอาหาร
ใบสะระแหน่ใช้ลดกลิ่นคาวของอาหารจำพวกพร่า ยำ และลาบ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่มและเหล้า



สมุนไพรไทย ว่านไพล

สมุนไพรไทย ว่านไพล
ว่านไพล
รสและสรรพคุณในตำรายา
ราก รสขื่นเอียน แก้อาเจียนโลหิต แก้เลือดกำเดาออกทางปากและทางจมูก
ลำต้นเหนือดิน รสฝากขื่นเอียน แก้ธาตุพิการ แก้อุจจาระพิการ
เหง้าหัวใต้ดิน รสฝาดขื่นเอียน เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ สมานลำไส้ แก้สารพิษในท้อง แก้โรคหืด ขับลมในลำไส้ ใช้เป็นยาช่วยขับระดูประจำเดือนสตรีหลังคลอดบุตร ลดอาการอักเสบและบวม แก้ท้องเสีย แก้ปวดฟัน แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เด็กเป็นไข้สูงตัวสั่นตาเหลือก ขับเลือดร้าย แก้บิด ใช้เหง้าสดที่แก่จัด เป็นยาใช้ภายนอก ฝนทาแก้เหน็บชา เมื่อยขบ แก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม ใช้ขี้ผึ้งผสมน้ำมันไพล ทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก หรือใช้น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ทากันยุง แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี ทาเคลือบแผล ป้องกันการติดเชื้อ ดูดหนอง สมานแผล
ใบ รสขื่นเอียน แก้วปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว
ดอก รสขื่น ใช้รับประทานเป็นยาถ่าย รักษาโรคบิด ขับระดู ทำลายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน แก้ช้ำใน
วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้อาการปวดเมื่อยและฟกช้า โดยใช้เหง้าหัวไพลแก่ 1 กิโลกรัม หั่นเป็นแว่นแล้วทอดในน้ำมันพืชร้อน 1/2 กิโลกรัม (ถ้าเป็นน้ำมันงาจะดีมาก) ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลู 2 ช้อนชา ทอดต่อไปอีก 10 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำมัน ตั้งไว้ให้เย็นแล้วใส่การบลูคนให้ละลาย ใช้ถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการปวด ควรเลือกใช้น้ำมันพืชที่บริสุทธิ์

สมุนไพรไทย ใบบัวบก

สมุนไพร ใบบัวบก
เป็นที่รู้กันดีว่า สมุนไพรใบบัวบก นั้นส่วนใจนำมารักษาโรคอกหัก จริง ๆ สมุนไพร ใบบัวบก เค้านิยมที่จะนำมารักษาชำในค่ะ แต่
ใบบัวบก นั้นมีสรรพคุณในการรักษามากกว่านั้น เราลองมาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของใบบัวบก กันดีกว่ามีคุณสมบัติอะไรบ้างที่ช่วยในด้านสุขภาพของเรา
สรรพคุณ ใบบัวบก
1. ใช้รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง หรือแผลหลังผ่าตัด ใบบัวบกจะช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยให้แผลหายเร็ว และแผลเป็นมีขนาดเล็ก
2. ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

วิธีใช้
ใช้ใบบัวบกสดทั้งต้น 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เอาน้ำทาบริเวณที่เป็นแผลเป็นบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ จะช่วยลดอาการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วขึ้น ปัจจุบันทดลองในรูปครีมของสารสกัดจากใบบัวบก 1 % ใช้ได้ดี
3.แก้อาการฟกช้ำ ช่วยให้เลือดกระจายตัว ชาวจีนเชื่อกันว่า ใบบัวบกแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำใน ทำให้เลือดกระจายตัวหายฟกช้ำได้ดี แก้กระหายน้ำและบำรุงร่างกายได้อีกด้วย
วิธีใช้
มักใช้ในรูปของผักสด และเตรียมเป็นเครื่องดื่ม ประเทศฝรั่งเศสมีการพัฒนายาจากใบบัวบก โดยทำในรูปของครีมทาแผล ยาผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน พลาสเตอร์ปิดแผล และในรูปยาฉีด เพื่อใช้ในการรักษาแผลสด และแผลหลังผ่าตัด ในประเทศไทย มีผู้ทดลองเตรียมครีมจากสารสกัดใบบัวบกเพื่อใช้ทาแผล และบริเวณฟกช้ำใช้รักษาได้ผลดี
4.ต้นสดใบและเมล็ด ช่วงเวลาที่เก็บยาเก็บตอนที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ สรรพคุณทางยารวมทั้งต้นสามารถแก้เจ็บคอได้ ทำให้มีความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ช้ำในก็ดีมาก สามารถแก้ความดันโลหิตสูงได้อย่างดีทีเดียว
5.ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อดื่มน้ำบัวบกทุก ๆ วันเป็นประจำเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะทราบได้ทันทีว่าความดันโลหิตลดลงอย่างน่าพิศวง โดยไม่ต้องไปรับประทานยาทั้งยังใช้บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้โรคปวดเมื่อย แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค ตับอักเสบ ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ ปวดศรีษะ
6.แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้บัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาวันละ 3-4 ครั้งจนหาย
7.รักษาแผลเก่าแผลเป็นให้หายได้ รักษาโรคเรื้อนกวาง นำบัวบกมาดองเหล้า 7 วัน เอายามาทาผิวหนังวันละ 3 ครั้ง

8.ผู้ที่เป็นโรคตับ ตับโต ตับอักเสบ ใช้ต้นสด 240-550 กรัม ต้มคั้นเอาน้ำขนาดชามใหญ่ดื่มทุกวัน
9.อาการร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ใช้น้ำคั้นจากใบสด ทำให้เจือจาง ปรุงรสด้วยน้ำตาลใส่น้ำแข็งดื่มเป็นเครื่องดื่มอาการดังกล่าวจะค่อยหายไป
10.แก้ปวดเมื่อย เจ็บหน้าอก เจ็บหลัง เอว ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงรับประทานวันละ 3-4 กรัม แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง
11.แก้ตับอักเสบใช้ต้นสด 120 กรัม ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร นำไปต้มให้เหลือ 250 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลกรวดลงไป 60 กรัม ขณะที่ยังร้อน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ตอนท้องว่างติดต่อกัน 7 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา

สมุนไพรไทย ตะไคร้

สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย



สมุนไพรไทย ใบเเมงลัก

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของใบแมงลัก
ใบแมงลัก อีกหนึ่งสมุนไพรคู่ครัวคนไทยมาช้านาน สรรพคุณของใบแมงลัก และประโยชน์ของใบแมงลักมีมากมายไม่แพ้ผักชนิดไหน ๆ เลยค่ะ ประโยชน์ของใบแมงลัก นั้นคุณพ่อบ้านแม่บ้านมักจะนำมาปรุงกับอาหารจำพวกอ่อมเป็นส่วนใหญ่ นอกจาก ประโยชน์ของใบแมงลัก แล้วเราก็ยังมี สรรพคุณของใบแมงลัก ที่เป็นสมุนไพรมาบอกเล่าเก้าสิบให้ฟังกันอีกด้วยนะค่ะ นั้นเรามาดูสรรพคุณของใบแมงลัก และ ประโยชน์ของใบแมงลัก
สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบแมงลัก
ประโยชน์ของใบแมงลัก
ใบแมงลักมีน้ำมันหอมระเหยราวร้อยละ 0.7 น้ำมันหอมระเหยที่เป็นส่วนประกอบหลักคือซิทรัล (citral) ต่างประเทศใช้ใบแมงลักแต่งกลิ่นอาหาร เนื่องจากมีกลิ่นมะนาวจึงมักใช้แต่งกลิ่นอาหารจำพวกปลาและไก่ในอาหารฝรั่ง
คุณค่าทางอาหารของใบแมงลัก
ใบแมงลัก 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญดังนี้
แคลเซียม 350 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม
เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม
ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม
วิตามินซี 78 มิลลิกรัม
เส้นใยอาหาร 2.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม
โปรตีน 2.9 กรัม
พลังงาน 32 แคลอรี
สรรพคุณของใบแมงลัก

- ขับลมในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาการอึดอัด แน่นไม่สบายท้อง ให้นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม
- ขับเหงื่อ เมื่อมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวไม่ค่อยสบาย นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม
- บรรเทาอาการหวัด อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หลอดลมอักเสบ ใช้ใบแมงลัก 1 กำมือล้างสะอาดโขลกคั้นน้ำดื่ม 1 ถ้ว
ตะไลบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับกรณีของหลอดลมอักเสบให้คั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไล 3 เวลาเช้า-กลางวัน-เย็น
- บรรเทาอาการผื่นคัน พิษจากพืช พิษสัตว์กัดต่อยหรืออาการคันจากเชื้อรา ใช้ใบแมงลักสดโขลกพอกบริเวณที่มีอาการและเปลี่ยนยาบ่อย ๆ
- แก้ท้องร่วงท้องเสีย ใบแมงลักสัก 2 กำมือ ล้างสะอาด โขลกบีบคั้นน้ำดื่ม แก้ท้องร่วงได้
- เพิ่มน้ำนมแม่ ให้แม่ที่ให้นมลูกกินแกงเลียงหัวปลี ใส่ใบแมงลักและให้ลูกดูดหัวน้ำนมบ่อย ๆ เพิ่มการสร้างน้ำนมแม่
- บำรุงสายตา ใบแมงลักมีวิตามินเอสูง การกินใบแมงลักเป็นประจำช่วยบำรุงสายตา
- บำรุงเลือด แก้โลหิตจาง ใบแมงลักอุดมด้วยธาตุเหล็กช่วยบำรุงโลหิต
- เสริมสร้างกระดูก ใบแมงลักมีแคลเซียมสูงช่วยบำรุงกระดูก
- เป็นยาระบาย ใช้เมล็ดแก่ของแมงลักสัก 1 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ปล่อยให้พองตัวดีแล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มแก้ท้องผูก แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์และแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองที่ไม่ต้องการภาวะท้องผูกเพราะเป็นการแก้ปัญหาแบบธรรมชาติ
- ใช้ลดความอ้วน เปลือกผล (ที่เรียกเมล็ดแมงลัก) มีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกาก ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนมื้ออาหารครึ่งชั่วโมงดื่มน้ำตามช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง ลดปริมาณพลังงานอาหารช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวจำนวนครั้งในการขับถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นลดอาการท้องผูกด้วย


สมุนไพรไทย สะเดา

สะเดา เป็นไม้โตเร็ว เจริญได้ดีในแถบร้อน ที่มีปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 400-1,200 ม. เป็นพืชทน อากาศแห้งแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่จะเจริญเติบโตเร็ว ในสภาพดินที่ไม่ชื้นแฉะ และปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 800 ม.
ประโยชน์ของสะเดา
1. เนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา เข็ม และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดี
2. เป็นอาหารและพืชสมุนไพร เช่น ในดอก และยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร และยาเจริญอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกำเดา บำรุงธาตุ ผลแก้โรคหัวใจ ยางดับพิษร้อน เปลือกแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาสมานแผล ผลอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ เมล็ดใช้รักษาโรคเบาหวาน
3. เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลง สะเดามีสารชนิดหนึ่งชื่อ กะซ้าหอยแรคติหน สามารถนำมาสกัด เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงได้ พบมากที่สุดในส่วนของเมล็ด
4. ปลูกเพื่อเป็นแนวกันลมและให้ร่ม เนื่องจากมีใบหนาทึบ รากลึก ทนแล้ง ทนดินเค็ม และผลัดใบในเวลาสั้น
5. อื่นๆ เช่น น้ำมันจากเมล็ดสะเดาใช้ทำเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เปลือกมีสารแทนเนิน ใช้ในอุตสาหะกรรมฟอกหนัง กากสะเดาใช้เป็นปุ๋ย ผสมเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น

สมุนไพรไทย ข่า

สรรพคุณ
1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น 3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม
4. ใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง
5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ข่าเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด


สมุนไพรไทย กระเพรา

สรรพคุณ
ใบ : ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่งประกอบด้วย linalool และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อนสก 1 กำมือ มาต้มให้เดือดแล้วกรองน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็กทารกให้เอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณรอบ ๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของเด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหารได้อีก สำหรับใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ จะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง เมล็ด นำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย ราก ใช้รากที่แห้แล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

สมุนไพรไทย มะกรูด

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะกรูด
มะกรูด คงจะไม่มีใครไม่รู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ใช่ไหมค่ะ ในสรรพคุณและประโยชน์ของมะกรูดนั้นเรียกได้ว่ามีมากมาย และที่โด่งดังเห็นทีจะเป็นในเรื่องของ สรรพคุณของมะกรูด ที่ใช้ในการรักษาเส้นผมให้สวย ดกดำ และเงางาม รวมถึงดูแลหนังศรีษะให้สุขภาพดี ประโยชน์ของมะกรูด มีมากจริง ๆ แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะค่ะ เพราะ สรรพคุณของมะกรูด และ ประโยชน์ของมะกรูด มีมากเหลือเกิน เราจึงก็รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ สรรพคุณของมะกรูด และ ประโยชน์ของมะกรูด มาบอกคุณ ๆ ที่มักจะใช้มะกรูดและกำลังคิดจะใช้สมุนไพรตัวนี้ในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงนำมาปรุงอาหารอีกด้วยนะค่ะ นั้นเราก็มาดูสรรพคุณของมะกรูดและประโยชน์ของมะกรูด
สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะกรูด
ขับลมแก้จุกเสียด วิธีใช้
1. ตัดจุกผลมะกรูดคว้านไส้กลางออกเอามหาหงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียมบดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้
2. น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน
3. เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู
4. เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน
5. เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู่



สมุนไพรไทย ใบชะพูล(ชะพูล)

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของใบชะพลู (ชะพลู)
ชะพลู หรือ ใบชะพลู อีกหนึ่งผักที่จัดว่าเป็นสมุนไพรแต่โบร่ำโบราณกันเลยทีเดียวค่ะ เพราะคนไทยสมัยก่อนมักนิยมนำใบชะพลูมาเคี้ยวหมากกันหรือที่รู้จักกันดีในนาม "หมากพลู" นั่นเองค่ะ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง สรรพคุณของใบชะพลู และ ประโยชน์ของใบชะพลู กันค่ะว่ามีอะไรบ้างค่ะ ประโยชน์ของใบชะพลู นั้นคนส่วนใหญ่มักจะนำมารับประทานและอาหารที่คนไทยรู้จักกันดีที่นำใบชะพลูมาใช้นั่นก็คือ เมี่ยงคำ นั่นเองค่ะ และนอกจากนี้ สรรพคุณของใบชะพลู ยังช่วยในการรักษาโรคได้อีกด้วย นั้นเรามาดู สรรพคุณของใบชะพลู และ ประโยชน์ของใบชะพลู
คุณค่าทางอาหารของใบชะพลู
คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ในใบชะพลู

ประโยชน์ของใบชะพลู
ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สรรพคุณของใบชะพลู
- ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
- ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
- ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
- ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย มะระขี้นก

มะระขี้นกเป็นสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทยเรา ที่บริโภคกันมานาน
และเรารู้ว่ามีประโยชน์ทั้งทางด้านคุณค่าทางโภชนาการและเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค
สรรพคุณของมะระขี้นก
1. จะช่วยเจริญอาหาร การที่ผลมะระขี้นกช่วยเจริญอาหารได้ เพราะในเนื้อผลมีสารที่มีรสขมกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมา มากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้นใช้ผลมะระปิ้งไฟ หรือลวกจิ้มน้ำพริก
2. ยับยั้งเชื้อ HIV หรือเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย



สมุนไพรไทย กระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบแดง ยาดีลดความดัน

มีคุณค่าทางยา ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ พร้อมสูตรง่ายทำ “น้ำกระเจี๊ยบ” ดับกระหาย

กระเจี๊ยบแดง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-6 ศอก ลำต้น และกิ่งก้านสีม่วงแดง ลักษณะใบพบทั้งขอบเรียบ และขอบหยัก ดอกสีชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ทั้งนี้ ส่วนที่ใช้ทำน้ำกระเจี๊ยบ คือ กลีบรองดอก หรือที่เรียกว่า ดอกกระเจี๊ยบ ภายในพบสารจำพวกแอนโธไซยานิน (anthocyanin) จึงมีสีม่วงแดง กรดอินทรีย์หลายชนิด (ทำให้มีรสเปรี้ยว) แคลเซียมปริมาณสูง วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม เป็นต้น

สำหรับขั้นตอนทำน้ำกระเจี๊ยบ เริ่มจากนำดอกกระเจี๊ยบแห้งล้างน้ำ จากนั้น ใส่หม้อต้มจนเดือด โดยใช้ไฟอ่อนเคี่ยวจนน้ำเป็นสีแดงเข้มข้น ขั้นตอนที่สอง ตักดอกกระเจี๊ยบขึ้นจากหม้อเหลือแต่น้ำ ใส่น้ำเชื่อม และเกลือลงไป ปล่อยต้มอีกสักครู่ จึงปรุงรสชาติตามชอบ หากดื่มไม่หมด เพียงบรรจุใส่ขวดปิดฝาให้แน่น แล้วแช่ในตู้เย็น จะเก็บได้นานขึ้น

นอกจากนั้น ยังนิยมแปรรูปเป็นส่วนผสมในอาหารคาว และของว่างอื่น ๆ เช่น แกงส้มกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเชื่อม กระเจี๊ยบแช่อิ่ม แยมดอกกระเจี๊ยบ เป็นต้น มีคุณค่าทางยา คือ ช่วยลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ.

สมุนไพรไทย กระชาย

สรรพคุณ
กระชายมีรสเผ็ดร้อนสารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม
2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานก่อนอาหารเย็น
4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำกระชายแห้งบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อน
5. นำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ใช้ฉีดบริเวณที่มีแมลงรบกวน
6. บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์
7.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน
8. แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน
9. ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
10. แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
11. ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2

สมุนไพรไทย ขมิ้น

สรรพคุณ
สารที่อยู่ภายใน หัวขมิ้นเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการทดสอบกรดบอริก ที่มีในผงชูรสปลอก ใบ ใช้ผสมกับยานวดเพื่อคลายเส้น ใช้ผสมเป็นยาอายุวัฒนะ รักษามะเร็ง ริดสีดวงทวารปวดมวนรักษาซาง และฝีดาษ และชักอาการไข้ รักษาผมที่หงอก ผมร่วง ผมคัน รักษามุตกิด ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาแผลโรคผิวหนังผื่นคันบำรุงผิว รักษาอาการท้องเดิน ปวดท้อง ธาตุพิการ อุจจาระเป็นมูกโลหิต ลดอาการบวม รักษาไข้ปวดหัวตัวร้อน สารพัดไข้ ปวดศีรษะ รักษากาฬ รักษาพิษสำแลง-ของแสลง รักษาฝี บิดตานทรวง ถ่ายท้อง ท้องเดิน ท้องร่วง ลดการขับปัสสาวะ รักษามูกโลหิต โลหิตเน่า ขับน้ำคาวปลา รักษาตานขโมย แมงเตียนกินรากผม เหา รังแค กษัย บำรุงโลหิต เจริญอาหาร ผสมกับยาต้มห้ามโลหิตจากทวารทั้ง 9 หรืออาเจียนเป็นโลหิต ผสมยารักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงน่ำนม เป็นฝาโรคหนองใน เบาขัด รักษาอาการลมวิงเวียน โรคปวดในข้อ โรคเหน็บชา คลื่นเหียนจุกเสียดและลมขึ้นสูง โรคประสาทผสมยาทาฝี รักษาแผลเรื้อรังเน่าร้าย ผอมแห้งอยู่ไฟไม่ได้ โรคกุฏฐัง ทำน้ำนมสตรีให้บริสุทธิ์ ขับปัสสาวะในสตรี รักษาอาการปวดบวมท้องขึ้นลงท้องอันเกิดจากวาโยธาตุกำเริบ

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำพริกกับผักเคียง ช่วยเลี่ยงได้หลายโรค

พูดถึง “น้ำพริก” คนไทยต้องรู้จักเป็นอย่างดี แม้ว่าแต่ละภาคอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปบ้าง เช่น ภาคใต้เรียก“น้ำชุบ” ภาคอีสาน มี “ป่น”“แจ่ว” แต่ ไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันแค่ ไหน ส่วนประกอบหลักๆ ของน้ำพริกมีคล้ายคลึงกัน แถมยังต้องกินกับผักเครื่องเคียงหลากหลายชนิด ที่มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการและป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ด้วย
สมุนไพรที่อยู่ในถ้วยน้ำพริกนั้น
ประกอบด้วย พริก กระเทียม และหอมแดง ซึ่งแต่ละอย่างก็มีสรรพคุณป้องกันได้หลายแบบ เอกสารเผยแพร่ของศูนย์ประสานงาน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรให้ข้อมูลสมุนไพรแต่ละตัวไว้ว่า
พริก มีรสชาติเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร ขับลม แก้หวัด แก้ภูมิแพ้ งานวิจัยพบว่าในพริกมีสารแคปไซซิน ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
กระเทียม มีสาร “อัลลิซิน” กลิ่นฉุน มีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มหรืออุดตันตามผนังหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
หอมแดง มีสาร “เคอร์ซิทิน” ช่วยทำความสะอาดเส้นเลือด ป้องกัน ไม่ให้หลอดเลือดอุดตัน
นอกจากนี้ สมุนไพรที่เป็น เครื่องเคียงกินกับน้ำพริก เช่น สายบัว บัวบก ผักกะเฉด ผักกูด ผักหนาม ยังมีสารประกอบที่ฝรั่งเรียกว่า “ไฟโตเคมีคอลล์” มีฤทธิ์ในการป้องกันโรคร้ายต่างๆ เช่น คลอโรฟิลล์ ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ เมื่ออยู่ในผักจะออกฤทธิ์ช่วยกันเสริมสร้างร่างกายให้ แข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกันและต่อต้านอนุมูลอิสระ ในผักยังมีเส้นใยอาหาร หรือที่เรียกว่าไฟเบอร์นั้น ก็ยังมีประโยชน์อีก นั่นคือเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำจะช่วยคุมระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ลดโอกาสเสี่ยงการเป็นริดสีดวงทวาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ทั้งหมดที่ว่ามาแสดงว่าสมุนไพรในหนึ่งถ้วยน้ำพริกนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพเหลือหลาย นอกจากความแซบอันเป็นที่รู้กันโดยทั่วไป แล้วอย่างนี้จะทิ้งน้ำพริกไปหาอาหารฝรั่งกันได้ลงคอเชียวหรือ

6 สมุนไพรที่ลำไส้ต้องการ

ลำไส้ของเราก็อย่างได้อาหารบำรุงเหมือนกันนะ และสมุนไพรทั้ง 6 ชนิดคือคำตอบที่กระเพราะและลำใส้ต้องการให้เราไปเสริมสุขภาพของมัน

1.ใบแมงลัก

น้ำมัน หอมระเหยจากใบแมงลักเป็นยาช่วยย่อยชั้นเซียน ลำไส้ใครไม่ค่อยทำงานจนท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ ลองชิมใบแมงลักสักสี่ห้าใบแล้วจะติดใจ


2.พริกสด 

ความ เผ็ดซู่ซ่าของพริกคืออยากกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำลายออกมา จากนั้นเอนไซม์ของน้ำลายจะช่วยย่อยแป้งให้อ่อนตัวลง กระเพราะกับลำไส้จะได้ไม่ต้องทำงานโหลดจนเกินไป



3.หอมแดง 

แค่ กินหอมแดงอย่างเดียว ลำไส้คุณก็ยิ้มแล้ว เพราะเท่ากับซื้อหนึ่งได้ถึง สี่ ได้แก่สารฟลาโวนอยส์ ไกลโคไซต์ เพคติน และกลูโคคินิน 4 สารบำรุงลำไส้และช่วยย่อยและทำให้เจริญอาหาร คุ้มกว่านี้มีอีกไหม



4.ใบกระเพรา
 

ถึงชื่อเสียงของกระเพราจะมือมนไปมาก ตั้งแต่พัดกะเพราถูกตั้งชื่อว่าผักสิ้นคิด แต่สรรพคุณของมันยังแจ่มเหมือนเดิม โดยเฉพาะสรรพคุณในการขับน้ำดีในกระเพราะอาหารมาช่วยย่อยอาหารที่เรากินเข้า ไป


5.ตะไคร้
 

ให้ เคี้ยวเดี๋ยวกินยากเกินไปหน่อย แต่ถ้าทำเป็นชาตะไคร้ หรือซอยบางๆกินกับยำ คงไม่ลำบากมากเกินไปสำหรับคนรักสุขภาพ สรรพคุณของตะไคร้เริ่ดไม่แพ้ใบกะเพรา คือช่วยขับน้ำดีออกมาย่อยอาหารเหมือนกัน สาวๆที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยไม่ควรพลาด


6.กระเทียม


มี สูตรเด็ดเคล็ดลับสำหรับคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อยมาฝาก ให้อากระเทียมมา 5 กลีบแล้วสับละเอียด กินทันทีหลังอาหาร กระเทียมมจะช่วยกระตุ้นให้กระเพราะอาหารจอมขี้เกรียดของคุณยอมย่อยอาหารมื้อ นั้นแต่โดยดี ถ้ากินทุกวันไม่นานอาการไม่ย่อยก็จะหายไปเอง

ว่านหางจระเข้บำรุงผิว!!!

วิธีใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวเพื่อผิวพรรณที่เนียนสวยอยู่เสมอทำได้ง่าย ๆ ดังนี้



ใช้น้ำว่านหางจระเข้ล้างหน้าขจัดความกร้านเพื่อผิวเนียนสวย

          การใช้น้ำว่านหางจระเข้ล้างหน้า ให้ใส่เพียง 2-3 หยดก็พอถ้าเป็นในช่วงเร่งรีบอาจบีบเอาน้ำจากใบว่านสดเลยก็ได้ เมื่อผสมน้ำว่านหางจระเข้กับโฟมล้างหน้าแล้ว ให้ถูจนเป็นฟอง แล้วเริ่มล้างหน้าได้ สำหรับผู้มีผิวมันและมีเหงื่อมาก ในฤดูร้อน อาจใช้แปรงช่วยล้างหน้าด้วยก็ได้

ใช้เนื้อวุ้นของว่านหางจระเข้ช่วยสมานผิวหลังล้างหน้า

          ล้างว่านหางจระเข้สะอาด ฝานเอาหนามแหลมออก แล้วค่อยปลอกเปลือก เอาแต่เนื้อวุ้นข้างในไว้ใช้ ล้างหน้าให้สะอาดแล้วนำเนื้อวุ้นมาทาใบหน้า เพื่อบำรุงผิวหน้า ทาไปเรื่อย ๆ จนกว่าเนื้อวุ้นจะไม่มีน้ำ เหลือแต่เส้นใย ก็ให้หยุดทา แล้วรีบล้างออกโดยเร็ว นอกจากนี้ยังอาจใช้กับโลชั่นที่ใช้เป็นประจำ โดยหยดน้ำว่านหางจระเข้สัก 2-3 หยดลงในโลชั่นก็เป็นอันใช้ได้

ใช้เนื้อวุ่นว่านหางจระเข้รักษาสิวและตุ่มพอง

สมุนไพรล่ายุง

สมุนไพรไล่ยุง และวิธีทำสมุนไพรไล่ยุง  มีมากมายดังนี้  

สะระแหน่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha arversis
ลักษณะ สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาด หัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้ ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรง

กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum
ลักษณะ กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อ บางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อเล็กๆ สีขาวรวมกันเป็นกระจุก อยู่ที่ปลายก้านดอก
ส่วนที่ใช้ หัว
วิธีใช้ นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้

กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanotum
ลักษณะ กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่ นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหมู
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้ ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออก มาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถูที่ ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อน ข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้ง

ว่านน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acorus calamus
ลักษณะ ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้า เป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียว
ส่วนที่ใช้ เหง้า
วิธีใช้ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง

แมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum citratum
ลักษณะ แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้ ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง

ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus
ลักษณะ ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและ ลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอย
ส่วนที่ใช้ ต้นและใบ
วิธีใช้ นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้นมา ทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วย ไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้

ดีจังเลยสมุนไพรไทย

http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable  สามารถดูสมุนไพรไทยต่างๆได้เลยน่ะจ๊ะ

สมุนไพร

555
เรื่องดีมีสาระ เหมาะกะน่าผู้ทำ 555

ขมิ้นสมุนไพรไทยมากคุณประโยชน์

“ขมิ้น” พืชสมุนไพรที่คนไทยรู้กันดี และเป็นสิ่งที่อยู่คู่ครัวคนไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นแกงส้ม  แกงไตปลา ผัดผงกระหรี่ หรือหมูผัดเผ็ด อาหารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่มีขมิ้นเป็นส่วนผสมแถบทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากอันดับต้นๆ ของคนไทยอีกด้วย ซึ่งถือเป็นความโชคดีของคนไทยที่สามารถนำพืชเล็กๆ ที่ฝังอยู่ใต้ดินมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้ เพราะสรรพคุณของขมิ้นมีคุณค่าที่หลากหลาย ซึ่งเราเองก็อาจคลาดไม่ถึง

สังเกตุได้จากงานวิจัยต่างๆ ที่ผ่านมา พบว่า สารสีเหลืองในขมิ้นที่เรียกว่า “เคอร์คูมิน” สามารถป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้ถึง 78% ซึ่งเป็นผลทดลองของทีมนักวิจัย University of Texas M.D. Anderson Cancer Center, Houston สหรัฐอเมริกา ที่ใช้สารเคอร์คูมินร่วมกับยารักษามะเร็งทดลองในหนู นอกจากนี้ผลวิจัยของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tohoku ประเทศญี่ปุ่น ยังพบอีกว่าเคอร์คูมินมีคุณสมบัติออกฤทธิ์หลายที่ เช่น การยับยั้งยีนที่กระตุ้นการเติบโตของเซลล์ การยับยั้งการผลิตโปรตีนอัลฟา-แคทีนิน (alpha-catenin)) และชักนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบ อะพอพโตซิส ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ได้ (เพราะเซลล์โดยทั่วไปจะมีโปรแกรมสั่งการให้ตนเองตายเมื่อผิดปกติหรือบาดเจ็บ แต่เซลล์ของมะเร็งจะโตเอาโตเอาแบบไม่มีวันตาย)  

ซึ่งการศึกษาจากงานวิจัยเหล่านี้ ส่งผลให้คนได้รับความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสรรพคุณเบื้องต้นของขมิ้นที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย หรือด้านผิวพรรณที่คนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่อง นุ่มนวลยิ่งขึ้น และนอกจากสารเคอร์คูมินจะพบได้ในขมิ้นแล้ว ยังสามารถพบได้จากพืชในวงศ์ตระกูลขิงอีกด้วย อีกทั้งคุณสมบัติของสารเคอร์คูมิน หรือ เคอร์คูมินอยส์ ยังมีฤทธิ์ในบำรุงตับ การช่วยลดโคเลสเตอรอล ป้องกันสมองเสื่อม และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงไม่แปลกที่เครื่องสำอางในแถบเอเซียส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของขมิ้นอยู่ด้วย จากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้ว สารเคอร์คูมินในขมิ้นในยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ซึ่งขมิ้นจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์ (หากมีการวิจัยและสามารถทดลองนำไปใช้ได้ในอนาคต “เอดส์” คงก็สามารถรักษาให้หายได้ และไม่กลายเป็นโรคที่น่ากลัวอีกต่อไป)

และเมื่อไม่นานมานี้ยังมีการวิจัยเกี่ยวขมิ้นของทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐ จากมหาวิทยาลัยอริโซนามาอีกว่าช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ โดยระบุว่าการรับประทานแกงที่มี "ขมิ้น" เป็นส่วนประกอบ มีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูก ข้ออักเสบ ซึ่งอาหารประเภทแกงเผ็ด หรือแกงสีเหลืองทั้งหลาย มีสรรพคุณช่วยบำบัดโรคได้

นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากที่มีงานวิจัยต่างๆ ออกมา เพราะขมิ้นถือเป็นพืชท้องถิ่นของเมืองไทย และเป็นพืชผักสวนครัวที่ต้องมีอยู่ทุกครัวเรือน หากมีการพัฒนารูปแบบ หรือการผลิตที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในยุคปัจจุบันต่อไปเรื่อยๆ วันหนึ่งขมิ้นอาจจะเป็นสมุนไพรไทยชนิดแรกที่เข้าสู่ตลาดโลกก็ได้


เรื่องโดย : อาทิตย์ ด้วนเกตุ Team content www.thaihealth.or.th