My friend

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย ลูกยอ

ยอ เป็นไม่พุ่มหรือไม้ขนาดเล็กในตระกูล Rubiaceae เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีผู้นำไปแพร่พันธุ์จนกระจายไปทั่วอินเดีย และตามหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิค และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก
ต้นยอขึ้นได้ทั้งในป่าทึบหรือตามชายฝั่งทะเลที่เป็นโขดเขาหรือพื้นทราย ต้นโตเต็มที่เมื่ออายุครบ 18 เดือน และให้ผลซึ่งมีน้ำหนักรวมกันระหว่าง 4-8 กิโลกรัมต่อเดือน ตลอดทั้งปี ยอเป็นพืชทนทานต่อดินเค็ม สภาวะแห้งแล้ง และดินทุติยภูมิ ยอจึงพบแพร่หลายทั่วไป ต้นยออาจสูงถึง 9 เมตร ใบและผลยอมีลักษณะเด่นที่เป็นแล้วบอกได้โดยง่ายว่าเป็นยอ
ใบยอมีขนาดใหญ่ รูปใบธรรมดาและเส้นใบลึก ใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน
ยอออกดอกและผลตลอดปี ดอกของมันเล็กๆ มีสีขาว ผลยอเป็นผลรวม กลิ่นฉุนเมื่อสุก บางครั้งจึงมีผู้เรียกชื่อผลยอในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึง ลูกเนยแข็งหรือลูกอ้วก (cheese fruit หรือ vomit fruit) ผลยอคล้ายรูปไข่ และเหมือนมีตารอบผล ความยาวของผลอยู่ระหว่าง 4-7 เซนติเมตร เมื่อผลยังอ่อนมีสีเขียว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไปจนเกือบขาวเมื่อสุก แม้ผลยอจะมีกลิ่นแรงและรสขม แต่ก็มีการบริโภคผลยอกันมาก ทั้งดิบ ๆ หรือปรุงแต่ง บางหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค กินผลยอเป็นอาหารหลัก ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชาวพื้นเมืองออสเตรเลียกินผลยอดิบจิ้มเกลือ หรือปรุงกับผงกระหรี่ เมล็ดของยอคั่วรับประทานได้
1. การใช้ประโยชน์ยอแต่ดั้งเดิม
ต้นยอใช้ประโยชนได้ทั้งต้น ไม่ว่า ใบ ผล ลำต้น ดอก เมล็ด หรือราก แต่ดั้งเดิมมามีผู้นำยอไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ใบยอ
(ก) ใบสด ใช้ห่อเนื้อและทำให้เนื้อมีรสยอ ใช้ทำอาหาร เช่น ห่อหมก ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงตัวหนอนไหม แก้แผลพุพอง รักษาอาการปวดศีรษะ หรือไข้
(ข) ใบทำยาพอก รักษาโรคมาลาเรีย แก้ไข้ แก้ปวด รักษาวัณโรค อาการเคล็ดยอก แผลถลอกลึกๆ อาการปวดในข้อ แก้ไข้ แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย แก้กระดูกแตก กล้ามเนื้อแพลง
(ค) น้ำสกัดใบยอ รักษาความดันโลหิตสูง เลือดออกที่เกิดจากกระดูกร้าว แก้ปวดท้อง เบาหวาน เบื้ออาหาร ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่องท้องบวม ไส้เลื่อน อาการขาดวิตามินเอ

1.2 ผลยอ
(ก) ไอระเหยจากลูกยอ ใช้รักษากุ้งยิง
(ข) ลูกยอดิบ ใช้รักษาอาการเจ็บ หรือแผลตกสะเก็ดรอบปากหรือข้างในปาก
(ค) ลูกยอสุก ใช้รับประทาน ลูกยอบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ ลูกยอบดใช้ทาเท้าแก้เท้าแตก ใช้ทาผิวฆ่าเชื้อโรค หรือรับประทานเพื่อฆ่าพยาธิในร่างกาย รักษาบาดแผลและอาการบวม แก้ปากและเหงือกอักเสบ แก้ปวดฟัน กระตุ้นความอยากอาหารและสมอง ใช้ทำอาหารหมู
(ง) ผลทำยาพอก ใช้แก้หัวสิว ตุ่ม ฝีฝักบัว แก้วัณโรค อาการเคล็ด แผลถลอกลึก โรคปวดในข้อ
(จ) น้ำมัน น้ำมันสกัดจากลูกยอใช้แก้ปวดกระเพาะ
(ฉ) น้ำสกัดลูกยอ แก้ความดันโลหิตสูง
1.3 ลำต้น
(ก) เปลือกต้ม แก้โรคดีซ่าน
(ข) น้ำสกัดต้นยอ แก้โรคความดันโลหิตสูง
1.4 เมล็ดยอ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดยอใช้รักษาเหาและป้องกันแมลง
1.5 ดอกยอ ใช้รักษากุ้งยิง
1.6 รากยอ
(ก) นำมาใช้แกะสลัก
(ข) ทำรงควัตถุสีเหลือง
(ค) น้ำคั้นจากรากใช้แก้แผลที่อักเสบรุนแรง
1.7 ทุกส่วนของต้นยอ สามารถใช้ทำยาระบายท้อง

2. การใช้ประโยชน์ยอสมัยใหม่
ปัจจุบันมีการนำลูกยอมาใช้ในทางแพทย์ทางเลือก (complementary alternative medicine, CAM) กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคติดสุราหรือยาเสพติด อาการแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคหอบหืด โรคสมอง แผลพุพอง มะเร็ง โรคเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงหัวใจ อาการแพ้สารเคมี โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก (endometriosis) โรคเก๊า โรคความดันโลหิตสูง ภูมิคุ้มกันต่ำ อาการอักเสบต่างๆ อาการปวดบวม อาการอ่อนเพลียจากการนั่งเครื่องบินนานๆ โรคเส้นโลหิตตีบ อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โปลิโอ โรคปวดในข้อ ไซนัส และใช้เป็นยารักษาสัตว์

สมุนไพรไทย ขิง

สรรพคุณ
ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก
นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุกกี้ พาย เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ เป็นต้น ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง (Ginger beer)

สมุนไพรไทย สะระเเหน่

สรรพคุณ
สะระแหน่ มีฤทธิ์เย็นรสเผ็ด น้ำมันสะระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอ
1. รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
4. ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
5. รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
6. รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด
วิธีใช้ประกอบอาหาร
ใบสะระแหน่ใช้ลดกลิ่นคาวของอาหารจำพวกพร่า ยำ และลาบ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่มและเหล้า



สมุนไพรไทย ว่านไพล

สมุนไพรไทย ว่านไพล
ว่านไพล
รสและสรรพคุณในตำรายา
ราก รสขื่นเอียน แก้อาเจียนโลหิต แก้เลือดกำเดาออกทางปากและทางจมูก
ลำต้นเหนือดิน รสฝากขื่นเอียน แก้ธาตุพิการ แก้อุจจาระพิการ
เหง้าหัวใต้ดิน รสฝาดขื่นเอียน เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ สมานลำไส้ แก้สารพิษในท้อง แก้โรคหืด ขับลมในลำไส้ ใช้เป็นยาช่วยขับระดูประจำเดือนสตรีหลังคลอดบุตร ลดอาการอักเสบและบวม แก้ท้องเสีย แก้ปวดฟัน แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เด็กเป็นไข้สูงตัวสั่นตาเหลือก ขับเลือดร้าย แก้บิด ใช้เหง้าสดที่แก่จัด เป็นยาใช้ภายนอก ฝนทาแก้เหน็บชา เมื่อยขบ แก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม ใช้ขี้ผึ้งผสมน้ำมันไพล ทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก หรือใช้น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ทากันยุง แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี ทาเคลือบแผล ป้องกันการติดเชื้อ ดูดหนอง สมานแผล
ใบ รสขื่นเอียน แก้วปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว
ดอก รสขื่น ใช้รับประทานเป็นยาถ่าย รักษาโรคบิด ขับระดู ทำลายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน แก้ช้ำใน
วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้อาการปวดเมื่อยและฟกช้า โดยใช้เหง้าหัวไพลแก่ 1 กิโลกรัม หั่นเป็นแว่นแล้วทอดในน้ำมันพืชร้อน 1/2 กิโลกรัม (ถ้าเป็นน้ำมันงาจะดีมาก) ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลู 2 ช้อนชา ทอดต่อไปอีก 10 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำมัน ตั้งไว้ให้เย็นแล้วใส่การบลูคนให้ละลาย ใช้ถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลามีอาการปวด ควรเลือกใช้น้ำมันพืชที่บริสุทธิ์

สมุนไพรไทย ใบบัวบก

สมุนไพร ใบบัวบก
เป็นที่รู้กันดีว่า สมุนไพรใบบัวบก นั้นส่วนใจนำมารักษาโรคอกหัก จริง ๆ สมุนไพร ใบบัวบก เค้านิยมที่จะนำมารักษาชำในค่ะ แต่
ใบบัวบก นั้นมีสรรพคุณในการรักษามากกว่านั้น เราลองมาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของใบบัวบก กันดีกว่ามีคุณสมบัติอะไรบ้างที่ช่วยในด้านสุขภาพของเรา
สรรพคุณ ใบบัวบก
1. ใช้รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง หรือแผลหลังผ่าตัด ใบบัวบกจะช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยให้แผลหายเร็ว และแผลเป็นมีขนาดเล็ก
2. ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

วิธีใช้
ใช้ใบบัวบกสดทั้งต้น 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เอาน้ำทาบริเวณที่เป็นแผลเป็นบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ จะช่วยลดอาการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วขึ้น ปัจจุบันทดลองในรูปครีมของสารสกัดจากใบบัวบก 1 % ใช้ได้ดี
3.แก้อาการฟกช้ำ ช่วยให้เลือดกระจายตัว ชาวจีนเชื่อกันว่า ใบบัวบกแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำใน ทำให้เลือดกระจายตัวหายฟกช้ำได้ดี แก้กระหายน้ำและบำรุงร่างกายได้อีกด้วย
วิธีใช้
มักใช้ในรูปของผักสด และเตรียมเป็นเครื่องดื่ม ประเทศฝรั่งเศสมีการพัฒนายาจากใบบัวบก โดยทำในรูปของครีมทาแผล ยาผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน พลาสเตอร์ปิดแผล และในรูปยาฉีด เพื่อใช้ในการรักษาแผลสด และแผลหลังผ่าตัด ในประเทศไทย มีผู้ทดลองเตรียมครีมจากสารสกัดใบบัวบกเพื่อใช้ทาแผล และบริเวณฟกช้ำใช้รักษาได้ผลดี
4.ต้นสดใบและเมล็ด ช่วงเวลาที่เก็บยาเก็บตอนที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ สรรพคุณทางยารวมทั้งต้นสามารถแก้เจ็บคอได้ ทำให้มีความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ช้ำในก็ดีมาก สามารถแก้ความดันโลหิตสูงได้อย่างดีทีเดียว
5.ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อดื่มน้ำบัวบกทุก ๆ วันเป็นประจำเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะทราบได้ทันทีว่าความดันโลหิตลดลงอย่างน่าพิศวง โดยไม่ต้องไปรับประทานยาทั้งยังใช้บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้โรคปวดเมื่อย แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค ตับอักเสบ ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ ปวดศรีษะ
6.แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้บัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาวันละ 3-4 ครั้งจนหาย
7.รักษาแผลเก่าแผลเป็นให้หายได้ รักษาโรคเรื้อนกวาง นำบัวบกมาดองเหล้า 7 วัน เอายามาทาผิวหนังวันละ 3 ครั้ง

8.ผู้ที่เป็นโรคตับ ตับโต ตับอักเสบ ใช้ต้นสด 240-550 กรัม ต้มคั้นเอาน้ำขนาดชามใหญ่ดื่มทุกวัน
9.อาการร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ใช้น้ำคั้นจากใบสด ทำให้เจือจาง ปรุงรสด้วยน้ำตาลใส่น้ำแข็งดื่มเป็นเครื่องดื่มอาการดังกล่าวจะค่อยหายไป
10.แก้ปวดเมื่อย เจ็บหน้าอก เจ็บหลัง เอว ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงรับประทานวันละ 3-4 กรัม แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง
11.แก้ตับอักเสบใช้ต้นสด 120 กรัม ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร นำไปต้มให้เหลือ 250 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลกรวดลงไป 60 กรัม ขณะที่ยังร้อน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ตอนท้องว่างติดต่อกัน 7 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา

สมุนไพรไทย ตะไคร้

สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย



สมุนไพรไทย ใบเเมงลัก

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของใบแมงลัก
ใบแมงลัก อีกหนึ่งสมุนไพรคู่ครัวคนไทยมาช้านาน สรรพคุณของใบแมงลัก และประโยชน์ของใบแมงลักมีมากมายไม่แพ้ผักชนิดไหน ๆ เลยค่ะ ประโยชน์ของใบแมงลัก นั้นคุณพ่อบ้านแม่บ้านมักจะนำมาปรุงกับอาหารจำพวกอ่อมเป็นส่วนใหญ่ นอกจาก ประโยชน์ของใบแมงลัก แล้วเราก็ยังมี สรรพคุณของใบแมงลัก ที่เป็นสมุนไพรมาบอกเล่าเก้าสิบให้ฟังกันอีกด้วยนะค่ะ นั้นเรามาดูสรรพคุณของใบแมงลัก และ ประโยชน์ของใบแมงลัก
สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบแมงลัก
ประโยชน์ของใบแมงลัก
ใบแมงลักมีน้ำมันหอมระเหยราวร้อยละ 0.7 น้ำมันหอมระเหยที่เป็นส่วนประกอบหลักคือซิทรัล (citral) ต่างประเทศใช้ใบแมงลักแต่งกลิ่นอาหาร เนื่องจากมีกลิ่นมะนาวจึงมักใช้แต่งกลิ่นอาหารจำพวกปลาและไก่ในอาหารฝรั่ง
คุณค่าทางอาหารของใบแมงลัก
ใบแมงลัก 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญดังนี้
แคลเซียม 350 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม
เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม
ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม
วิตามินซี 78 มิลลิกรัม
เส้นใยอาหาร 2.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม
โปรตีน 2.9 กรัม
พลังงาน 32 แคลอรี
สรรพคุณของใบแมงลัก

- ขับลมในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาการอึดอัด แน่นไม่สบายท้อง ให้นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม
- ขับเหงื่อ เมื่อมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวไม่ค่อยสบาย นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม
- บรรเทาอาการหวัด อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หลอดลมอักเสบ ใช้ใบแมงลัก 1 กำมือล้างสะอาดโขลกคั้นน้ำดื่ม 1 ถ้ว
ตะไลบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับกรณีของหลอดลมอักเสบให้คั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไล 3 เวลาเช้า-กลางวัน-เย็น
- บรรเทาอาการผื่นคัน พิษจากพืช พิษสัตว์กัดต่อยหรืออาการคันจากเชื้อรา ใช้ใบแมงลักสดโขลกพอกบริเวณที่มีอาการและเปลี่ยนยาบ่อย ๆ
- แก้ท้องร่วงท้องเสีย ใบแมงลักสัก 2 กำมือ ล้างสะอาด โขลกบีบคั้นน้ำดื่ม แก้ท้องร่วงได้
- เพิ่มน้ำนมแม่ ให้แม่ที่ให้นมลูกกินแกงเลียงหัวปลี ใส่ใบแมงลักและให้ลูกดูดหัวน้ำนมบ่อย ๆ เพิ่มการสร้างน้ำนมแม่
- บำรุงสายตา ใบแมงลักมีวิตามินเอสูง การกินใบแมงลักเป็นประจำช่วยบำรุงสายตา
- บำรุงเลือด แก้โลหิตจาง ใบแมงลักอุดมด้วยธาตุเหล็กช่วยบำรุงโลหิต
- เสริมสร้างกระดูก ใบแมงลักมีแคลเซียมสูงช่วยบำรุงกระดูก
- เป็นยาระบาย ใช้เมล็ดแก่ของแมงลักสัก 1 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ปล่อยให้พองตัวดีแล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มแก้ท้องผูก แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์และแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองที่ไม่ต้องการภาวะท้องผูกเพราะเป็นการแก้ปัญหาแบบธรรมชาติ
- ใช้ลดความอ้วน เปลือกผล (ที่เรียกเมล็ดแมงลัก) มีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกาก ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนมื้ออาหารครึ่งชั่วโมงดื่มน้ำตามช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง ลดปริมาณพลังงานอาหารช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวจำนวนครั้งในการขับถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นลดอาการท้องผูกด้วย